เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/443
วันที่: 17 มกราคม 2555
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ข้อกฎหมาย: พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 505) พ.ศ. 2553
ข้อหารือ          1บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบธุรกิจจดทะเบียนเป็นบริษัทขนส่งเพื่อให้บริการรถยนต์ลีมูซีนกับนักท่องเที่ยวชาวไทยและ ชาวต่างประเทศที่เป็นลูกค้าของโรงแรมชั้นนำในประเทศซึ่งตั้งอยู่ในย่านธุรกิจโดยรอบสี่แยกราชประสงค์และเป็นรายได้ หลักอย่างเดียวของบริษัทฯ ทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งที่นำไปให้บริการเป็นรถยนต์นั่งที่มีราคาเกินกว่าหนึ่งล้านบาททั้งหมด ตามที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (ฉบับที่ 504) พ.ศ. 2553 และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อม ราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 505) พ.ศ. 2553 ได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 จึงขอทราบว่า บริษัทฯ จะได้รับ สิทธิประโยชน์ตามพระราชกฤษฎีกาฯ ทั้งสองฉบับหรือไม่
แนววินิจฉัย          พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 504) พ.ศ. 2553 กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบธุรกิจให้เช่า รถยนต์ซึ่งได้เช่ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตไว้เพื่อการ ให้เช่ามีสิทธินำค่าเช่ารถยนต์ดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ทั้งจำนวน และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 505) พ.ศ. 2553 กำหนดให้ทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมาย ว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตซึ่งมีไว้ใช้ในกิจการให้เช่ารถยนต์มีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุนทั้งหมด โดยจะต้องไม่นำรถยนต์ดังกล่าวไปใช้ในกิจการอื่นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน กรณีบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบธุรกิจจดทะเบียน เป็นบริษัทขนส่งมีรถยนต์นั่งที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนซึ่งมีราคาเกินกว่าหนึ่งล้านบาทและได้นำรถยนต์ดังกล่าวให้บริการกับลูกค้า ของโรงแรม การประกอบกิจการของบริษัทฯ ไม่ใช่กรณีมีรถยนต์ไว้เพื่อประกอบกิจการให้เช่ารถยนต์หรือได้เช่ารถยนต์มาเพื่อ การให้เช่า บริษัทฯ จึงไม่ได้รับสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 504) พ.ศ. 2553 และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 505) พ.ศ. 2553
เลขตู้: 75/37973

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020